ไวรัส vs ประจุอิออน หัวข้อใหญ่ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นหลังจากเริ่มมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 จนเกิดบทความที่อ้างงานวิจัยต่างๆ มากมาย แต่สุดท้ายก็มีบทสรุปเดียวกันคือ “ประจุอิออน สามารถยับยั้งการทำงานของไวรัสได้” จึงส่งผลทำให้ผลิตภัณฑ์ที่มีฟังก์ชั่นในการปล่อยประจุอิออนนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และแม้ว่าผลิตภัณฑ์ของแบรนด์นั้นๆ จะออกตัวว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบ 99.9% หรือมีการอ้างอิงถึงสถาบันต่างๆ เพื่อความน่าเชื่อถือ สุดท้ายเมื่อคำนึงถึงปัจจัยของสาเหตุในการติดเชื้อ กลับพบว่าปัจจัยหลักมาจากการสัมผัสพาหะเชื้อโดยตรงต่างหาก ถึงอย่างนั้น ในมุมของผู้บริโภคก็ยังคงมองว่า “สินค้าเหล่านี้ มีไว้ป้องกัน ดีกว่าไม่มี”
เอาล่ะ พักเรื่องโควิด-19 ไปก่อน เพราะบทความนี้จะกล่าวถึงไวรัสทั่วๆ ไป และแน่นอน ไวรัสก็คือไวรัส ไม่ว่าจะเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือสายพันธุ์ไหน โครงสร้างก็จะมีความคล้ายคลึงหรือเหมือนกัน ต่างกันแค่ระยะฟักตัวกับอาการที่พบหลังรับเชื้อ
เจาะลึก! การยับยั้งไวรัส โดยประจุอิออนลบ
ในส่วนของการยับยั้งการทำงานของไวรัสนั้น มีขั้นตอนและกระบวนการ ดังนี้
(กระบวนการนี้เป็นพื้นฐานของประจุอิออน ซึ่งอ้างอิงจากการทำงานของผลิตภัณฑ์ ioneair ริสแบนด์ปล่อยประจุอิออนจากญี่ปุ่น)
อย่างแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า ไวรัส ประกอบด้วยสารพันธุกรรมที่ห่อหุ้มด้วยเปลือกและหนามของไวรัสที่เป็นเสมือนเเขนไว้ยึดเกาะ
ประจุอิออนลบ ที่เปรียบเสมือนแม่เหล็ก จะจับตัวและห่อหุ้มไวรัสเอาไว้ จากนั้นประจะอิออนก็จะเริ่มทำปฏิกิริยากับเปลือกหนามของไวรัส โดยทำลายโปรตีนในเปลือกไวรัส ทำให้เปลือกของไวรัสเสียหาย
เมื่อสารพันธุกรรมไร้เปลือกห่อหุ้ม ก็จะถูกอิเล็กตรอนของประจุอิออนทำลายพันธะเคมี ทำให้ไวรัสไม่มีประสิทธิในการแพร่เชื้อต่อได้
ทั้งหมดนี้ คือหลักการทำงานของประจุอิออนลบในการยับยั้งการทำงานของไวรัส ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เราสามารถนำประจุอิออนมาใช้ในทางส่งเสริมสุขภาพกันมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากสินค้าประเภทเครื่องปล่อยประจุที่มีราคาไม่ถึงร้อยจนถึงแตะหลักเเสน ที่ยิ่งนับวันก็ยิ่งมีสินค้าออกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามหากยังใช้ชีวิตโดยไม่คำนึงถึงสุขอนามัย แม้ว่าจะซื้อเครื่องปล่อยประจุอิออนราคาหมื่นแสนมาใช้เพื่อหวังให้ป้องไวรัสก็คงไม่ช่วยหรอก จริงมั้ย?