Uncategorized

ต้องรู้ PM2.5 กับดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI)

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่คนไทยต้องประสบปัญหาฝุ่น PM2.5 ฝุ่นอนุภาคเล็กที่เกิดจากควันไอเสีย การเผาไหม้ ควันจากโรงงาน ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่สูดดมเข้าไป โดยจากข้อมูลงานวิจัยต่างๆ ได้ออกมาชี้ว่าฝุ่นPM2.5 ที่ดูไม่มีพิษภัยนี้กลับเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มโอกาสเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ทั้งโรคระบาด Covid-19, โรคทางเดินหายใจ หรือแม้แต่โรคมะเร็ง นอกจากการแก้ปัญหาเช่น การลดการเผาขยะ, ลดมลพิษทางอากาศจากการใช้รถแล้ว คนไทยเราก็ต้องหาวิธีใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับฝุ่นให้ได้  เช่น การใช้เครื่องฟอกอากาศพกพา, สวมใสหน้ากาก N95, หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในวันที่มีฝุ่น PM2.5 เยอะ ฯลฯ แต่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าวันนี้ PM2.5 เยอะหรือเปล่า?

ดัชนีคุณภาพอากาศ บอกได้

ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ (AQI : Air Quality Index) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่

– ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)

– ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)

– ก๊าซโอโซน (O3)

– ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)

– ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)

– ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย

ดังนี้

ปัจจุบัน เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมาก เราสามารถรู้ค่า AQI ของแต่ละวันได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งมีส่วนช่วยให้เราสามารถตัดสินใจในการทำกิจกรรมในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมใหม่ๆ ในการป้องกัน PM2.5 ด้วยนวัตกรรมประจุอิออนที่จะช่วยดักจับฝุ่นละอองในอากาศได้อีกด้วย

อ่านเพิ่ม ประจุอิออน สามารถช่วยดักจับฝุ่น PM2.5 และ ไวรัส covid ได้หรือไม่

สุดท้ายแล้ว ในยุคที่ประเทศไทยต้องจมฝุ่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ AQI ก็เป็นเรื่องที่รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม เพราะดูเหมือนว่าเราจะต้องจมฝุ่นกันอีกนานเลยทีเดียว

Related Posts