Uncategorized

โควิด-19 + PM 2.5 คู่หายนะ พาปอดพัง

ฝุ่น PM2.5 ที่คละคลุ้งไปทั่วเมือง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ทั้งรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก รู้สึกแสบตา คันเนื้อตัว บางคนเป็นภูมิแพ้หนัก มีผื่นขึ้นตามตัว นี่คือสิ่งที่เราต้องเผชิญแทบจะในทุกช่วงปลายปีถึงต้นปีหน้า กินระยะเวลายาวนานกว่า 3 เดือน หรือจะเรียกได้ว่านี่คือ “ฤดูฝุ่น PM2.5” แต่ว่าตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โรคระบาดที่สามารถสร้างความเสียหายต่อปอดได้โดยตรง ซึ่งทวีความรุนแรงตามสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ


แล้วถ้า  PM2.5 + โควิด-19 จะเกิดอะไรขึ้น?

ต้องว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ของ PM2.5 กับโควิด-19 ก่อน สืบเนื่องจากนักวิจัยจาก the Harvard T.H. Chan School of Public Health ได้วิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่น PM2.5 กับโควิด-19 แล้วพบว่า ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นเฉลี่ยสูงขึ้น 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 ในระดับที่รุนแรงหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 8%

ทำไมฝุ่น PM2.5 ที่สูงขึ้น ถึงส่งผลต่อความรุนแรงของโควิด-19?

ทั้งฝุ่น PM2.5 และโควิด-19 ต่างส่งผลโดยตรงต่อปอดของมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งปอดของมนุษย์นั้นจะมีเอนไซม์ ACE2 ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน คอยทำหน้าที่ตรวจจับไวรัส และส่งสัญญาณเตือน เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ แต่ทว่าในปอดของผู้ที่รับมลพิษมาก รวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จะมีความอ่อนแอมาก ซึ่งทำให้ไวรัสโคโรน่า สามารถเข้าโจมตีและเข้าสู่เซลล์ปอดในที่สุด

แม้ว่า PM2.5 จะมีส่วนในการเพิ่มความรุนแรงของโควิด-19 ได้ แต่ก็อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป เพียงสวมหน้ากากที่ป้องกันฝุ่นและไวรัส หมั่นล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างทางสังคม หรือจะพกเครื่องฟอกอากาศพกพาก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดี เพียงเท่านี้ เราก็จะปลอดภัยทั้งจากฝุ่น และโควิด-19 แล้ว

ข้อมูลจาก  IQAir

Related Posts